แม้ว่าในหนึ่งวันที่คุณรับประทานอาหารนั่นจะมั่นใจได้ว่ารับประทานอาหารได้ครบ 5 หมู่ และมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้เลยว่ายังมีบางสารอาหารที่ร่างกายไม่สามารถสร้างได้เอง หรือเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และร่างกายยังไม่ได้รับสารนั้นในปริมาณที่เพียงพอ ทำให้อาหารเสริม จึงกลายมาเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ได้รับความนิยมสำหรับคนที่อยากบำรุงในส่วนของเสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรง บำรุงผิวพรรณ รวมไปถึงการปรับสมดุลของร่างกาย ซึ่งหนึ่งในอาหารเสริมที่กำลังได้รับความนิยม และมีประโยชน์มากมายหลากหลายก็คือ “พรีไบโอติก (Prebiotic)” ทั้งช่วยปรับสมดุลลำไส้ แก้อาการท้องผูก ช่วยลดการอักเสบ และอื่นๆ อีกมากมาย ดังนั้นถ้าหากใครมีปัญหาเรื่องลำไส้ หรืออยากปรับสมดุลให้กับลำไส้ของคุณ พรีไบโอติก (Prebiotic) ควรเป็นลิสต์แรกๆ ในอาหารเสริมที่อยากแนะนำให้ได้รู้จักกัน ถ้าใครยังไม่รู้ว่า Prebiotic คืออะไร และมีดีอย่างไร ไปเลยเราไปทำความรู้จักกัน
พรีไบโอติก (Prebiotic) คืออะไร ?
กล่าวคือ พรีไบโอติก (Prebiotic) เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ที่ได้มาจากน้ำตาลธรรมชาติ ช่วยทั้งกระตุ้นการทำงาน และส่งเสริมจุลินทรีย์ โพรไบโอติก (Probiotics) หรือถ้าพูดให้เข้าใจง่ายก็คือ พรีไบโอติก นั้นเป็นอาหารของโพรไบโอติกนั่นเอง ซึ่งพรีไบโอติก (Prebiotic) นั้นร่างกายไม่สามารถย่อย หรือดูดซึมในระบบทางเดินอาหารได้เลย ทว่าจะถูกดูดซึมด้วยแบคทีเรียในบริเวณลำไส้ใหญ่แทน โดยร่างกายจะดูดซึม พรีไบโอติก (Prebiotic) ได้ก็จะต้องให้โพรไบโอติกนั้นมาย่อยสลายอีกที
พรีไบโอติก (Prebiotic) นั้นแตกต่างจาก โพรไบโอติกส์ (Probiotics) อย่างไร ?
แม้ว่าชื่อจะคล้ายกัน และหลายคนเกิดความสับสน แต่พรีไบโอติก กับโพรไบโอติกส์ นั้นทำงานแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะโพรไบโอติกส์นั้นเป็นจุลินทรีย์ชนิดดีที่สามารถพบได้ทั่วไปใน นมเปรี้ยว หรือโยเกิร์ต ที่ดีต่อลำไส้ ช่วยย่อยอาหารที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ รวมถึงการผลิตวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายด้วย ส่วน พรีไบโอติก (Prebiotic) เป็นเป็นอาหารของโพรไบโอติกส์ ทำให้เมื่อร่างกายได้รับพรีไบโอติกมากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะส่งผลการทำงานของโพรไบโอติกส์ให้ดีมากยิ่งขึ้นเท่านั้น และนี่คือความแตกต่างของทั้งสองอย่างนี้
พรีไบโอติก (Prebiotic) มีกี่ประเภท ?
มีด้วยกันทั้งหมด 2 ประเภท ได้แก่
- โอลิโกแซ็กคาไรด์ (oligosaccharide) คาร์โบไฮเดรตที่ประกอบไปด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 3-10 โมเลกุล มีการเชื่อมต่อกันด้วยพันธะไกลโคซิดิก มักจะเป็นน้ำตาลดังต่อไปนี้ สตาคีโอส (stachyose) แลคตูโลส (Lactulose) ราฟฟิโนส (raffinose) และอื่นๆ อีกมากมาย
- อินูลิน (inulin) เป็น พอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide) ที่พืชสะสมไว้เป็นอาหาร สามารถพบได้ทั่วไปใน กล้วย กระเทียม หอมหัวแดง หรือหน่อไม้ฝรั่ง
อาหารที่มีพรีไบโอติก (Prebiotic) มีอะไรบ้าง ?
คนทั่วไปสามารถเพิ่มพรีไบโอติก (Prebiotic) ให้กับร่างกายได้โดยรับประทานที่มีพรีไบโอติกเข้าไป ซึ่งสามารถหาได้จากสิ่งเหล่านี้
- ผัก: กระเทียม หัวหอม หน่อไม้ฝรั่ง ผักกาดม่วง มะเขือเทศ กะหล่ำปลี
- ผลไม้: กล้วย ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ อะโวคาโด แตงโม แอปเปิ้ล
- ธัญพืช: ถั่วเหลือง ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต เมล็ดแฟลกซ์
แม้ว่าพรีไบโอติกในอาหารจะสามารถหารับประทานได้ทั่วไป แต่ถ้าไม่อยากยุ่งยากหรือเสียเวลา สมัยนี้ก็มีอาหารเสริมพรีไบโอติก (Prebiotic) ให้เลือกมากมาย ถ้ายิ่งรับประทานเป็นประจำได้ก็จะยิ่งดี เพราะพรีไบโอติกจะช่วยปรับสมดุลลำไส้ให้ดีขึ้น แถมยังส่งเสริมการทำงานของโพรไบโอติกให้มีประสิทธิภาพขึ้นด้วย
พรีไบโอติก (Prebiotic) เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร ?
ไม่ใช่แค่การปรับสมดุลให้กับลำไส้ และมีประโยชน์ในเรื่องของระบบทางเดินอาหารแต่เพียงเท่านั้น ทว่าพรีไบโอติก ยังมีประโยชน์อื่นๆ กับร่างกาย อย่างที่คาดไม่ถึงเลยทีเดียว ซึ่งพรีไบโอติกจะเป็นประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไรบ้างนั้นต้องไปลองดูกัน
- ช่วยทำให้การดูดซึมของแคลเซียม และแมกนีเซียมดีมากยิ่งขึ้น จึงช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกเป็นอย่างดี
- ช่วยกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันในทางเดินอาหารให้ดีขึ้น
- ดูดซับสารพิษ และสารก่อมะเร็งในระบบทางเดินอาหารได้เป็นอย่างดี ทั้งช่วยปรับสมดุล และป้องกันการเกิดมะเร็งในลำไส้
- มีส่วนช่วยดักจับไขมัน รวมถึงน้ำตาลในระบบทางเดินอาหาร ที่จะก่อให้เกิดโรคต่างๆ ดังนั้นจึงช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคที่มาจากไขมัน หรือน้ำตาลได้ดีขึ้น
- ป้องกันการติดเชื้อในทางเดินอาหาร หรือช่วยป้องกันอาการท้องเสียได้ดี
- เนื่องจากใยอาหารจากพรีไบโอติก จะไปกระตุ้นการหลั่งสารที่ช่วยทำให้สมองรับรู้ถึงความอิ่ม และรู้สึกสบาย
เห็นไหมว่าพรีไบโอติก (Prebiotic) นั้นมีประโยชน์มากกว่าที่คุณคิด ถ้าหากใครยังไม่เคยรู้จักพรีไบโอติกมาก่อน ก็สามารถอ่านรายละเอียดที่กล่าวมาข้างต้นได้ ซึ่งการรับประทานพรีไบโอติกนั้นไม่ได้ส่งผลดีต่อแค่ระบบทางเดินอาหารเพียงแค่อย่างเดียว แต่รวมถึงส่วนอื่นๆ ในร่างกายด้วย รู้อย่างนี้แล้วมาบริโภคพรีไบโอติกเพื่อช่วยรักษาสมดุลของลำไส้ และลดการเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ กันดีกว่า ถ้าไม่สะดวกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยพรีไบโอติก ก็สามารถมองหาอาหารเสริมพรีไบโอติกได้เลย