โปรไบโอติกเป็นแบคทีเรียที่มีประโยชน์ซึ่งสามารถช่วยปรับสมดุลของไมโครไบโอม (จุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในร่างกายของเราตามธรรมชาติ) ในลำไส้และปรับระบบการย่อยอาหาร นอกจากนี้ยังช่วยลดอาการท้องอืดโดยลดปริมาณแก๊สที่ผลิตโดยแบคทีเรียในลำไส้และช่วยเสริมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ซึ่งสามารถช่วยย่อยอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
โปรไบโอติกยังช่วยปรับสมดุลการทำงานของลำไส้ ช่วยลดระยะเวลาการย่อยอาหารและการดูดซึม ส่งผลให้สามารถลดปริมาณแก๊สที่อาจเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม โปรไบโอติกอาจไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน เราจึงควรหาข้อมูลและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก่อนเลือกรับประทาน
5 ประโยชน์จากโปรไบโอติก แก้ท้องอืดง่ายๆ ไม่ต้องใช้ยาระบาย
1. สร้างสมดุลจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้
โปรไบโอติกช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ได้โดยการเพิ่มจำนวนแบคทีเรียที่มีประโยชน์และลดจำนวนแบคทีเรียที่เป็นอันตรายลง จึงช่วยลดอาการท้องอืดและยังทำให้สุขภาพของลำไส้โดยรวมดีขึ้นด้วย
2. ปรับระบบการย่อยอาหาร
โปรไบโอติกช่วยให้อาหารถูกย่อยได้ละเอียดมากขึ้น และมีการดูดซึมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้เกิดการผลิตแก๊สน้อยลง เราจึงท้องอืดน้อยลงนั่นเอง
3. ลดการผลิตแก๊ส
โปรไบโอติกบางชนิดได้รับการศึกษาว่าสามารถช่วยลดปริมาณแก๊สที่ผลิตโดยแบคทีเรียในลำไส้บางชนิดได้ จึงส่งผลให้เรามีอาการท้องอืดน้อยลงตามไปด้วย
4. ปรับการทำงานของลำไส้
โปรไบโอติกช่วยปรับการเคลื่อนไหวของลำไส้ ส่งผลให้สามารถย่อยอาหารได้ดีขึ้นและใช้เวลาในการทำงานลดลง จึงทำให้เกิดปริมาณแก๊สในระหว่างการย่อยลดน้อยลงไปด้วย เราจึงไม่เกิดอาการท้องอืดนั่นเอง
5. เสริมระบบภูมิคุ้มกัน
โปรไบโอติกยังมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่ดี ซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อที่อาจนำไปสู่อาการท้องอืดได้
นอกจากการมีตัวช่วยที่ดีในการแก้ปัญหาสุขภาพเมื่อเรามีอาการท้องอืดท้องเฟ้อบ่อยๆ ด้วยการเลือกรับประทานโปรไบโอติกแล้ว เรายังสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างที่ส่งผลให้เกิดอาการท้องอืดได้ เพื่อเป็นตัวช่วยให้สามารถแก้ไขอาการท้องอืดได้ดียิ่งขึ้น
5 ทริค ปรับพฤติกรรมง่ายๆ ให้ท้องไม่อืด
1. การเคี้ยวอาหาร
เราสามารถปรับพฤติกรรมง่ายๆ ในการรับประทานอาหารได้โดยเคี้ยวอาหารให้ละเอียดมากขึ้น ใช้เวลาให้นานขึ้น ค่อยๆ ทาน เคี้ยวช้าๆ ไม่ต้องรีบ เพื่อช่วยให้กระเพาะและลำไส้ย่อยอาหารได้ดีขึ้น ใช้เวลาในการทำงานลดลง แก๊สที่เกิดขึ้นในระหว่างการย่อยก็จะลดลงไปด้วย
2. อย่านอนทันที
หลังรับประทานอาหารเสร็จแล้ว อย่ารีบนอนทันที แต่ให้เดินช้าๆ เพื่อให้ลำไส้ได้มีการขยับตัว ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายสามารถขับแก๊สออกมาได้ง่ายขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารอื่นๆ ได้ อาทิ กรดไหลย้อน
3. สังเกตการย่อยอาหารบางชนิด
คอยพยายามสังเกตร่างกายตัวเองว่ามักมีปัญหาในการย่อยอาหารบางประเภทหรือไม่ เช่น นมวัว เนื่องจากเมื่อเราอายุมากขึ้นร่างกายจะผลิตเอนไซม์ในการย่อยแล็กโทสในนมได้ลดลง ทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องอืดเมื่อเราดื่มนมได้
4. เคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้น
การขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวร่างกาย ทั้งหลังทานอาหาร หรือในระหว่างวัน จะช่วยให้ลำไส้เกิดการขยับตัว ส่งผลดีต่อระบบขับถ่าย ทำให้ท้องไม่ผูก จึงไม่เกิดแก๊สสะสมที่จะทำให้มีอาการท้องอืดนั่นเอง
5. ดื่มน้ำให้เพียงพอ
ปรับพฤติกรรมการดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน เนื่องจากโดยปกติแล้วน้ำจะถูกดูดซึมผ่านผนังลำไส้ทำให้อุจจาระเป็นก้อนแข็ง ยิ่งเราดื่มน้ำน้อยก็จะทำให้ถ่ายยากมากขึ้น การดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยให้การขับถ่ายคล่องขึ้น
อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ มีแก๊สในท้อง เป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ทั้งจากกระบวนการทำงานของร่างกายเองและจากการรับประทานอาหาร รวมถึงพฤติกรรมในชีวิตประวัน แม้จะเป็นปัญหากวนใจแต่เราก็สามารถแก้ไขได้ไม่ยากด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีส่วนช่วยในระบบการย่อยอาหารและการขับถ่าย รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง โดยเฉพาะการเลือกรับประทานโปรไบโอติกที่มีส่วนช่วยโดยตรงต่อการเพิ่มแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นตัวช่วยให้เราสามารถแก้ปัญหาท้องอืดได้ไม่ยาก